กลับมาอีกครั้งกับบทความเกี่ยวกับเซอร์แวนท์อีกครั้งนะครับ ครั้งนี้เป็นเรื่องราวของ พระนางลักษมี ไบมหาราชินีแห่งจันษี ผู้ถูกขนานนามให้ว่าโจนออฟอาร์กแห่งอินเดียกัน และเช่นเคย บทความนี้ของผมนั้นเรียบเรียงมาจากแหล่งอื่นอีกที ดังนั้นจึงขอขอบคุณต้นทางที่แปลเรื่องนี้ให้ผมเรียบเรียงได้ง่ายๆนะครับ
อนึ่งผมจะเล่าเกี่ยวกับตัวท่านที่ปราฏในประวัติศาสตร์เท่านั้นนะครับ ดังนั้นเรื่องราวนี้จะไม่เกี่ยวข้องกัยเกมFATE/GO
ในอดีตที่ผ่านมานั้นการกระทำต่างๆของมนุษย์ทั้งดีและร้ายย่อมถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์ ทั้งเรื่องดี เรื่องร้าย เรื่องราวบางอย่างถูกจดบันทึกไว้ เรื่องราวบางอย่างถูกลืมเลือน เรื่งราวที่จะพูดถึงในวันนี้คือเรื่องราวที่อยู่ในประวัติศาตร์หน้าหนึ่งเลยทีเดียว และเรื่องราวนี้เองก็สร้างวีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งขึ้นมา นั่นคือคือ พระนางลักษมี ไบมหาราชินีแห่งจันษี
พระนางลักษมีไบ(Lakshmibai) เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ด้านปีที่ประสูตินั้นมิได้มีการบันทึกเอาไว้ แม้ว่าพระองค์จะเกิดมาในฐานะสตรีเพศแต่ด้วยความที่พระองค์เติบโตมาในราชสำนักที่ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ชาย ทำให้ทรงเรียนรู้ทักษะอย่างการฟันดาบและขี่ม้ามาตั้งแต่เด็กเฉกเช่นชายชาตรี และเมื่อถึงวัยอันควรพระนางก็อภิเษกสมรสกับ กันกาธาร์ เรา (Ghangadhar Rao) มหาราชาแห่งจันษี(Jhansi) ทั้งคู่นั้นมิได้รัชทายาทสืบสายเลือดไว้แต่ทั้งคู่ก็ได้รับราชบุตรบุญธรรมไว้เพื่อให้สืบทอดบัลลังก์ไว้ในภายภาคหน้า ซึ่งภายหลังมหาราชากันกาธาร์ เราก็ได้สิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา
ด้วยความที่แผ่นดินเกิดของท่านนี้อยู่ในยุคล่าอาณานิคม อินเดียเองก็ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่พระองค์ทราบดีแต่ก็ทำได้เพียงแค่อดทนกับเรื่องนี้เท่านั้น ทว่าการประกาศรัชทายาทนั้น ลอร์ดดาลฮูซี (Lord Dalhousie) ข้าหลวงใหญ่แห่งอังกฤษประจำอินเดียซึ่งทำหน้าที่ผู้คุมกฎแห่งอนุทวีปอินเดียในราวๆปี 1848 ไม่เห็นด้วย และประกาศไม่รับรองการรับบุญธรรมของพระองค์เพื่อเป็นรัชทายาท ก่อนจะประกาศว่าจะผนวกเอาดินแดนแห่งจันษีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิทันที
การประกาศของลอร์ดดาลฮูซีทำให้ราชินีแห่งจันษีหมดความอดทนพระองค์จะไม่ยอมให้เสื่อมเสียพระเกียรติของพระราชวงค์มากไปกว่านี้และประกาศกร้าวว่าจะไม่ยอมเสียอาณาจักรของพระองค์ให้กับอังกฤษ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการนองเลือดในทันที หลังการก่อกบฏในปี 1857 ที่เมืองมีรุต (Meerut) พระองค์ประกาศตัวเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งจันษีใช้อำนาจในการปกครองแทนองค์มหาราชา (ราชบุตรบุญธรรมซึ่งยังคงเป็นผู้เยาว์) ก่อนจัดการเตรียมกำลังรบของตนให้พร้อมรบ พระองค์ยังได้รับเลือกให้เป็นผู้นำกองกำลังกบฏในภูมิภาคตอนกลางของอินเดีย โดยมีกำลังกบฏในพื้นที่ใกล้เคียงคอยให้การสนับสนุน
แม้ว่าพระองค์จะต่อต้านกองทัพจักรวรรดิอังกฤษอย่างสุดกำลังแต่ด้วยความต่างทั้งกำลังและยุทโธปกรณ์ก็ทำให้พระองค์ต้องถอยร่นมาเรื่อยๆ ด้านกองกำลังของอังกฤษเองก็ค่อยๆจัดการกับกองกำลังกบฏในพื้นที่ต่างๆไปทีละแห่งและรุกคืบเข้าหานครจันษี จนกระทั่งเดือนมีนาคมปี 1858 กองทัพแห่งจักรวรรดิอังกฤษก็ล้อมเมืองจันษีเอาไว้ได้
แต่แม้จะถูกล้อมไว้เช่นนั้นราชินีแห่งจันษีก็ไม่ยอมแพ้ พระองค์กับองครักษ์กองเล็กๆ ได้ลอบหนีออกจากเมือง เพื่อไปสมทบกับกองกำลังกบฏกลุ่มอื่นๆ โดยยอมปล่อยให้จักรวรรดิอังกฤษบุกในเมืองจันษี และท้ายสุดพระองค์ก็ได้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเหล่ากลุ่มต่อต้านจนวาระสุดท้ายของพระองค์เอง ว่ากันว่าในการออกรบครั้งสุดท้ายมหาราชินีแห่งจันษีท่านได้แต่งกายอย่างเยี่ยงนักรบชายชาตรีออกต่อกรกับกองทัพของนายพลฮิวจ์ โรส(Hugh Rose)ของอังกฤษ ก่อนถูกสังหารกลางสมรภูมิดังเช่นวีรบุรุษ
แม้ว่าการกระทำของพระองค์จะไม่ประสบความสำเร็จดังที่พระองค์ปรารถนา แต่วีรกรรมของมหาราชินีแห่งจันษีผู้นี้นั้นก็ได้รับการยกย่องจากชาวอินเดียว่าพระองค์เป็นวีรสตรีของชาวอินเดียผู้หาญกล้าต่อกรกับกองทัพจักรวรรดินิยมจวบจนปัจจุบัน ในฐานะมหาราชินีผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกป้องแผ่นดินเกิดจนวาระสุดท้าย ชาวอินเดียนั้นมีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่ออุทิศให้กับพระองค์อยู่หลายแห่ง
สำหรับเพื่อนๆที่อยากเปิดมุมมองอื่นๆที่ไม่ได้มาจากการเล่าของผมนั้นก็สามารถไติดตามในภาพยนต์อินเดียได้ ซึ่งชื่อเรื่องก็คือ "Manikarnika - The Queen Of Jhansi" ได้นะครับ
เรียบเรียงโดย Salt Admin
ขอบคุณข้อมูลก่อนการเรียบเรียงจาก silpa-mag.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น