เซอร์แวนท์ที่มีตัวตนจริงๆในหน้าประวัติศาสตร์
กลับมาพูดถึงเซอร์แวนท์ที่มีตัวตนจริงๆในหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้ง รอบนี้ขอพูดถึงกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งชนเผ่าฮันส์ที่เคยเป็นที่เป็นที่กริ่งเกรงของอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่กัน
อัตติลาแห่งฮันส์ (Attila the Hun)เป็นผู้นำของ พวกฮันส์ หรือที่เรียกกันว่า ชาวฮั่น ซึ่งเป็นอนารยชนที่อพยพมาจากเอเชียกลางและเข้าสู่ยุโรปใน ศตวรรษที่ 4 ซึ่งตรงกับตอนปลายของยุคโรมัน จากบันทึกร่วมสมัย พวกฮั่นเป็นเหล่านักรบผู้เก่งฉกาจพวกเขามอบความปราชัยให้กับดินแดนต่างๆ ที่พวกเขาเคลื่อนผ่าน ซึ่งก็รวมถึงจักรวรรดิโรมันด้วย โปรดอย่าไปจำสลับกับเจงกิสข่านแห่งมองโกลนะครับ เพราะทั้งคู่นั้นเกิดคนละช่วงกันเลย แม้้ทั้งสองจะมีบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายคลึงกันก็เถอะ
ครั้งนี้ก็เช่นเคยผมจะขออนุญาติเล่าประวัติของอัตติลาในรูปแบบประวัติศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวกับตัวจักรวาลFATEเช่นเคยนะครับ
อาณาจักรของชาวฮั่น นั้นตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโอลด์ในโรมาเนียและแม่น้ำดานูบในฮังการี ในมวลหมูกษัตริย์ของฮั่นแล้วอัตติลาเป็นผู้นำชาวฮั่น ที่ถูกจดจำและได้รับกล่าวถึงมากที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ เขาถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 406 ด้านครอบครัว อัตติลามีพี่ชายหนึ่งคน นามว่า
บลีดา หลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์รัวกิลัส บลีดาและอัตติลาได้ขึ้นเป็นผู้นำร่วมกัน โดยอัตติลาปกครองดินแดนฝั่งตะวันตก ส่วนบลีดาปกครองดินแดนตะวันออก ซึ่งหลังจากนั้นชาวฮั่นก็เริ่มทำสงครามขยายดินแดนไปเรื่อยๆ โดยเป้าหมายแรกก็คือพิชิตชาวโรมัน
บลีดา หลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์รัวกิลัส บลีดาและอัตติลาได้ขึ้นเป็นผู้นำร่วมกัน โดยอัตติลาปกครองดินแดนฝั่งตะวันตก ส่วนบลีดาปกครองดินแดนตะวันออก ซึ่งหลังจากนั้นชาวฮั่นก็เริ่มทำสงครามขยายดินแดนไปเรื่อยๆ โดยเป้าหมายแรกก็คือพิชิตชาวโรมัน
ในปี ค.ศ. 441 ชาวฮั่นได้ละเมิดข้อตกลงการค้าโดยส่งกองทหารเข้ายึดเมืองชายแดนระหว่างโรมันตะวันออกกับอาณาเขตของพวกอนารยชน โดยกล่าวอ้างว่า สังฆราชแห่งเมืองมาร์กัสแอบข้ามแม่น้ำดานูปเข้าไปลอบขุดสมบัติในสุสานของชาวฮั่น เพราะฉะนั้นจึงได้ขอให้ส่งตัวสังฆราชผู้นี้มารับโทษเสีย แน่นอนว่าอาณาจักรโรมันผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นไม่มีทางยอมแน่ ดังนั้นชาวฮั่นจึงรุกรานเมืองราเตียเรีย วิมินาซีอุมและเมืองชายแดนอื่นๆอีกหลายแห่งของอาณาจักรโรมัน ซึ่งคราวนี้เมื่อเข้าตาจนจริงๆทางโรมก็จำต้องส่งตัวสังฆราชให้กับชาวฮั่น
แต่สังฆราชแห่งโรมก็เอาตัวรอดจากความซวยครั้งนี้ได้โดยสัญญากับอัตติลาว่า"จะเป็นไส้ศึกเปิดประตูเมืองให้ อัตติลา" ดังนั้นอัตติล่าจึงปล่อยตัวสังฆราชกลับมายังเมือง มาร์กัสและท้ายสุดเมืองมาร์กัสก็ถูกตีแตกด้วยไส้ศึก
หลังจากนั้นเองที่โรมันตะวันออกได้ทำข้อตกลงสันติภาพกับฮั่น โดยยอมจ่ายทองคำเป็นบรรณาการทุกปีเพื่อแลกกับการที่ฮั่นจะไม่ยกทัพไปรุกราน แต่เมื่อปี ค.ศ. 443 โรมันก็ปฏิเสธการจ่ายบรรณาการให้แก่ฮั่นโดยมั่นอกมั่นใจที่ได้กองทหารที่กลับจากเปอร์เซียและซิซิลี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อัตติลากับบลีดาจึงยกทัพข้ามแดนมาถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล ครั้งนี้จักรวรรดิโรมันผ่านแพ้ยับเบิน จักรพรรดิธีโอโดซิอุสแห่งโรมันตะวันออกต้องรีบทำสัญญาสงบศึกและจ่ายบรรณาการให้ตามที่ชาวฮั่นต้องการซึ่งเป็นทองคำมากถึงปีละ 2,100 ปอนด์
ว่ากันว่าใน ปี ค.ศ. 445 อัตติลาตัดสินใจรวบอำนาจไว้กันตนเองเพียงผู้เดียวด้วยการลอบสังหารบลีดาพี่ชายของตน และเพื่อสร้างความชอบธรรมในการนี้ อัตติลาได้กล่าวแก่บริวารว่า มีคนเลี้ยงสัตว์ผู้หนึ่งได้ตามวัวสาวขากะเผลกไปในทุ่งและพบดาบโบราณเล่มหนึ่ง จึงได้นำมาถวายพระองค์ โดยดาบเล่มนั้นคือ ”ดาบของเทพแห่งสงคราม” ซึ่งทั้งหมดนี้ก็หมายความว่า อัตติลาได้รับพระบัญชาจากเทพแห่งสงครามให้นำชาวฮั่นพิชิตโลกนั่นเอง
และด้วยการปลุกขวัญกำลังใจเช่นนี้ก็ทำให้เหล่าทหารฮั่นทั้งหลายเกิดความฮึกเหิม อัตติลาก็ระดมทัพใหญ่บุกเข้าโรมันตะวันออกอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 447 แน่นอนว่าโรมันที่อยู่ในช่วงขาลงตอนนี้ก็แพ้ยับอีก จากนั้นอัตติลาก็ได้นำกองทัพฮั่นได้บุกเข้าไปในแหลมบอลข่านโดยหมายจะขยายถิ่นฐานเข้าไปที่นั่น แต่ก็ถูกต่อต้านจากชาวพื้นเมืองทั่วทุกหัวระแหง จนอัตติลารู้สึกว่า พระองค์กับชาวฮั่นทั้งหลายคงไม่อาจตั้งถิ่นฐานที่นั่นได้ อัตติลาจึงถอนกำลังกลับคืนฮังการีพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมหาศาลจำนวนมหาศาล
ปริสคัส ราชทูตโรมันตะวันออกที่ไปเยือนราชสำนักฮั่นใน ปี ค.ศ. 448 ได้เขียนเล่าไว้ว่า “ในงานเลี้ยง อัตติลาทรงแสดงถึงความสมถะของพระองค์ ด้วยการเสวยอาหารในจานไม้ ส่วนถ้วยที่ทรงใช้ ก็ทำจากไม้ ในขณะที่บรรดาแขกที่ร่วมงานล้วนใช้ภาชนะเงินและทองคำ อัตติลาทรงสวมฉลองพระองค์แบบธรรมดา และมีเพียงพระแสงดาบเล่มหนึ่งแขวนอยู่ข้างวรกาย โดยมิได้ทรงประดับดาพระองค์ด้วยเพชรทองหรืออัญมณีใด ๆ เหมือนเช่นดังคนอื่น ๆ ในงาน”
ว่ากันว่าอติล่านั้นแม้จะมีฐานะถึงกษัตริย์แต่ก็มีความสมถะ พระองค์เสวยอาหารในจานและถ้วยที่ทำจากไม้ ในขณะที่บรรดาแขกที่ร่วมงานล้วนใช้ภาชนะเงินและทองคำ ฉลองพระองค์ของกษัตริย์อัตติลานั้นเป็นเพียงฉลองพระองค์แบบธรรมดา ไม่ได้สวมใส่เครื่องประกับที่ทำจากเพชรหรือทองใดๆ สิ่งเดียวที่ที่อยู่เคียงข้างพระองค์เสมอก็คือพระแสงดาบเล่มหนึ่งที่แขวนอยู่ข้างวรกายเท่านั้น
อัตติลาตีโรมันอยู่หลายครั้ง เรียกว่าปล้นจะไม่เหลือให้ปล้น "ทางโรมันก็โดนทั้งปล้นทั้งกวาดต้อนจนหมดตูดจนไม่เหลืออะไรอีกแล้ว" อัตติลาจิึงหมดความสนพระทัยในโรมันตะวันออก และคราวนี้กลายเป็นโรมันตะวันตกที่เป็นที่สนใจของอัตติลาแทน ครั้งนี้อัตติลาเริ่มต้นด้วยการส่งทูตไปยังกรุงโรมและเสนอตัวเป็นพันธมิตรกับโรม โดยข้อเสนอของพระองค์คือจะยกทัพเข้าไปช่วยขับไล่พวกวิสิก็อธที่เข้าไปครอบครองดินแดนฝรั่งเศสตอนใต้ให้ พร้อมกันนั้นอัตติลาพระขนิษฐาของจักรพรรดิวาเลนติเนียนมาอภิเษกเพื่อเจริญสัมพันธ์ไมตรี แต่ก็ขอสินสอดเป็นดินแดนครึ่งหนึ่งของโรมันตะวันตก แน่นอนว่าข้อเสนอนี้มันโคตรแพงจักรพรรดิจึงปฏิเสธไป
แน่นอนว่าหลังจากนั้นฮั่นก็ตีเมืองของโรมันตะวันตกไปเรื่อยๆ เหล่าแม่ทัพนายกองทั้งหลายที่ทราบว่าชาวฮั่นจะมาบุกก็ยอมแพ้อย่างง่ายดาย ซึ่งในเวลานั้น ฟลาเวียส อัยติอุส ผู้บัญชาการทหารของโรมตะวันตก เมื่อทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับจักรวรรดิของตนก็พยายามรวบรวมกำลังพลทั้งหมดที่มีต่อกรกับกองทัพฮั่นของอติล่า ทว่ากองทัพของอัยติอุสก็ยังเล็กเกินไปที่จะเผชิญหน้ากับทัพมหึมาของฮั่นได้ ดังนั้นเขาจึงส่งนายทหารนามว่า อาวีตุส เดินทางไปยังโตโลซาซึ่งเป็นอาณาจักรของวิสิก็อธ เพื่อเจรจาขอเป็นพันธมิตรกับธีโอโดริค กษัตริย์ของวิสิก็อธ โอรสของอลาริคในทันที
แม้ว่าจะเคยเป็นศัตรูกับอัยติอุส ทว่าธีโอโดริคก็ทรงพระปรีชาพอที่จะรู้ว่า ถ้าชาวฮั่นชนะโรมันได้แล้วคราวต่อไปก็คงเป็นอาณาจักรของพระองค์ดังนั้น พระองค์จึงยอมเป็นพันธมิตรด้วย ทัพพันธมิตรยกไปถึงแคว้นของชาวอลัน ได้ก่อนหน้าทัพฮั่นและบีบให้สันกีบานัสส่งนักรบอลันทั้งหมดเข้าร่วมรบ
และนี่เป็ครั้งแรกที่กองทัพฮั่นต้องถูกยัดเยียดความปราชัยให้ ทว่าต้องแลกมากับความตายของ กษัตริย์ธีโอโดริค แต่กระนั้นด้วยความหวาดระแวงในพันธมิตรที่พร้อมจะแว้งกัดตนอัยติอุส ก็ปล่อยให้อัตติล่ารอดชีวิตไป ได้ในยามนั้น อัยติอุสคิดว่าความพ่ายแพ้ครั้งนี้จะทำให้อัตติลาเสื่อมอำนาจลงและไม่อาจระดมทัพใหญ่มารุกรานโรมได้อีก
ทว่าความคิดเขาของเขาผิดพลาดอย่างแรง ปี ค.ศ. 452 อัตติลาก็ได้นำทัพใหญ่เท่ากับเมื่อปีก่อนบุกผ่านแคว้นปันโนเนียและเทอกเขาแอลป์เข้าสู่อิตาลีอีกครั้งและคราวนี้กองทัพฮั่นเข้ายึดเมืองอาควิลียาและทำลายเมืองจนราบคาบ เมืองหลายเมืองยอมจำนน และต้องเสียค่าไถ่เป็นทรัพย์สมบัติจำนวนมาก การรบครั้งสุดท้ายของอัตติล่านั้นคือการรบกับโรมันตะวันตก ซึ่งอัตติล่าต้องยอมถอนกำลังทหารทั้งหมดเนื่องจากเกิดโรคระบาดขึ้นในกองทัพ อีกทั้งในคาบสมุทรอิตาลีก็เพิ่งจะเกิดภัยแล้ง ทำให้ทัพฮั่นหาเสบียงได้ไม่เพียงพอเลี้ยงทหาร ซ้ำร้ายจักรพรรดิมาร์เซียนแห่งโรมันตะวันออกก็กรีธาทัพมาช่วยเหลือโรมันตะวันตกอีกด้วย
การเสียชีวิตของอัตติล่านั้นคือในปี ค.ศ. 453 ระหว่างงานงานฉลองสมรสครั้งใหญ่ของพระองค์กับอิดิลโกเจ้าสาวชาวเยอรมัน เชื่อกันว่าการสิ้นพระชนม์ของอัตติลา เพราะดื่มน้ำจันท์มากเกินไป หรือเพราะเส้นพระโลหิตในสมองแตก และในบางครั้งก็คาดว่าทรงถูกเจ้าสาวของพระองค์เองวางยาพิษ
อาณาจักรฮั่นก็แตกออกเป็นเสี่ยง ๆทันทีเมื่อสิ้นอัตติล่า และถูกชนเผ่าที่เคยเป็นบริวารก่อการกบฏ กลายเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนก่อนจะถูกกลืนไปกับชนเผ่าอื่นที่เข้มแข็งกว่าและหายสาปสูญไปในศตวรรษที่ 7
ขอบคุณข้อมูลก่อนการเรียบเรียงจาก http://www.komkid.com และ https://th.wikipedia.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น