มนุษย์นั้นมีความผูกพันธ์กับเรื่องลี้ลับเป็นอย่างยาวนาน เรื่องลี้ลับบางอย่างที่เราไม่สามารถอธิบายได้นั้นเราก็มักจะคิดว่ามันเกิดจากพลังเหนือธรรมชาติ วันนี้แอดมินจะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวที่ไม่สามารถอธิบายได้และนำมาซึ่งความเสียหายอย่างร้ายแรง รวมทั้งสร้างหน้าประวัติศาสตร์สุดอัปยศขึ้นมาอีกด้วย นั่นก็คือ การล่าแม่มด
หากพูดถึงการล่าแม่มดที่มีชื่อเสียงที่สุดในอดีต เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อของ "คดีล่าแม่มดแห่งซาเลม"กันมาก่อนก็เป็นได้ คดีล่าแม่มดแห่งซาเลมคือคดีล่าแม่มดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนปี 1692 ถึง เดือนพฤษภาคมปี 1693 ที่หมู่บ้านซาเลม รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยมีการกล่าวหาเด็กๆ ในหมู่บ้านว่าพวกเธอถูกสิงโดยปีศาจ โดยมีเหล่าผู้หญิงในหมู่บ้านนั้นเป็นจำเลยที่ถูกล่าวหาว่าเป็นแม่มดนั่นเอง
จุดเริ่มต้นของคดีอัยศนี้มาจากการที่ เด็กหญิงสองคนในหมู่บ้าน "อบิเกล วิลเลียม" และ "อลิซาเบธ แพร์ริส" เริ่มแสดงอาการประหลาดอย่างการกรีดร้องโวยวาย และบิดไปมาอย่างรุนแรงน่าหวาดกลัว ซึ่งหลังจากนั้นอาการเหล่านี้ก็ลามไปในหมู่เด็กสาวในหมู่บ้านทีละคน ซึ่งสมัยนั้นคนอเมริกาก็ยังมีความเชื่อกับสิ่งลี้ลับอยู่เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงปักใจเชื่อทันทีว่าในหมู่คนในหมู่บ้านมีแม่มดแฝงตัวอยู่
ซึ่งเรื่องราวนี้จะไม่บานปลายหากบาทหลวงที่เข้ามาในหมู่บ้านไม่ประกาศว่าอาการของเด็กๆ นั้นเป็นการกระทำของแม่มด จนทำให้เกิดการกล่าวหาคนในหมู่บ้านทั้งโดยบาทหลวง ซึ่งความหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจนี้ได้สร้างความหวาดระแวงให้กับคนในหมู่บ้านซึ่งเป็นเหตุให้คนในหมู่บ้านกว่า 60 คนโดนจับขังในทันที
การพิจารณาคดีและพิพากษาเริ่มต้นขึ้นหลังจากนั้น ศาลเองก็ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือและกฏหมายที่ยุติธรรมเหมือนสมัยนี้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งขัดแย้ง บวกกับการที่ชาวบ้านซัดทอดคนอื่นเรื่อยๆ ทำให้มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกแขวนคอในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งว่ากันว่าแท่นแขวนคอนั้นไม่เคยว่างจากศพเลยทีเดียว
ยิ่งนานวันเข้าทุกอย่างก็ยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะไม่ว่ายังไงพวกเขาก็หาแม่มดไม่เจอ(เพราะไม่มีแม่มดจริงๆน่ะแหละ) ท้ายที่สุดเรื่องนี้ก็ไปถึงหูของทางรัฐบาล เมื่อทราบข่าวหายนะจากความเชื่อนี้ทางการก็ส่งคนมาที่เมืองซาเล็มและทำการดำเนินการไต่สวนเพื่อความยุติธรรมใหม่ทั้งหมด ซึ่ง
กว่ายืนยันความบริสุทธิ์ของคนในหมู่บ้านได้ ก็เมื่อในปี 1697 ซึ่งศาลแมสซาชูเซตส์เองได้ออกมายอมรับว่าคดีที่หมู่บ้านซาเรมมีการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม และแอนน์ พัตแนม หนึ่งในเด็กๆ ของหมู่บ้านซาเรมสารภาพว่าตนเองในวัยเด็กโกหกและใส่ความคนในหมู่บ้าน ในปี 1706 นั่นเอง
ซึ่งในที่สุดเมื่อปี 1711 รัฐบาลแมสซาชูเซตส์ก็ได้ผ่านกฎหมายคืนความบริสุทธิ์แก่คนในหมู่บ้านซาเรมจนหมดสิ้น และยกเลิกคำกล่าวหาที่ว่าผู้หญิงในหมู่บ้านเป็นแม่มดด้วยซึ่งได้ออกกฎหมายฉบับใหม่โดยสั่งให้คืนทรัพย์สมบัติที่ยึดมาจากผู้ตายและครอบครัวของผู้ตายให้หมด รวมไปถึงการจ่ายสินไหมทดแทนด้วย และนี่เป็นอันยุติคดีแม่มดในซาเล็มไปตลอดกาล ทว่า ความเสียหายจากความงมงายและการตัดสินคดีที่ไม่เป็นธรรมก็สร้างบาดแผลให้กับหมู่บ้านแห่งนี้ไม่มากก็น้อย
หากพูดถึงการล่าแม่มดที่มีชื่อเสียงที่สุดในอดีต เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อของ "คดีล่าแม่มดแห่งซาเลม"กันมาก่อนก็เป็นได้ คดีล่าแม่มดแห่งซาเลมคือคดีล่าแม่มดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนปี 1692 ถึง เดือนพฤษภาคมปี 1693 ที่หมู่บ้านซาเลม รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยมีการกล่าวหาเด็กๆ ในหมู่บ้านว่าพวกเธอถูกสิงโดยปีศาจ โดยมีเหล่าผู้หญิงในหมู่บ้านนั้นเป็นจำเลยที่ถูกล่าวหาว่าเป็นแม่มดนั่นเอง
จุดเริ่มต้นของคดีอัยศนี้มาจากการที่ เด็กหญิงสองคนในหมู่บ้าน "อบิเกล วิลเลียม" และ "อลิซาเบธ แพร์ริส" เริ่มแสดงอาการประหลาดอย่างการกรีดร้องโวยวาย และบิดไปมาอย่างรุนแรงน่าหวาดกลัว ซึ่งหลังจากนั้นอาการเหล่านี้ก็ลามไปในหมู่เด็กสาวในหมู่บ้านทีละคน ซึ่งสมัยนั้นคนอเมริกาก็ยังมีความเชื่อกับสิ่งลี้ลับอยู่เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงปักใจเชื่อทันทีว่าในหมู่คนในหมู่บ้านมีแม่มดแฝงตัวอยู่
ซึ่งเรื่องราวนี้จะไม่บานปลายหากบาทหลวงที่เข้ามาในหมู่บ้านไม่ประกาศว่าอาการของเด็กๆ นั้นเป็นการกระทำของแม่มด จนทำให้เกิดการกล่าวหาคนในหมู่บ้านทั้งโดยบาทหลวง ซึ่งความหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจนี้ได้สร้างความหวาดระแวงให้กับคนในหมู่บ้านซึ่งเป็นเหตุให้คนในหมู่บ้านกว่า 60 คนโดนจับขังในทันที
การพิจารณาคดีและพิพากษาเริ่มต้นขึ้นหลังจากนั้น ศาลเองก็ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือและกฏหมายที่ยุติธรรมเหมือนสมัยนี้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งขัดแย้ง บวกกับการที่ชาวบ้านซัดทอดคนอื่นเรื่อยๆ ทำให้มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกแขวนคอในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งว่ากันว่าแท่นแขวนคอนั้นไม่เคยว่างจากศพเลยทีเดียว
ยิ่งนานวันเข้าทุกอย่างก็ยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะไม่ว่ายังไงพวกเขาก็หาแม่มดไม่เจอ(เพราะไม่มีแม่มดจริงๆน่ะแหละ) ท้ายที่สุดเรื่องนี้ก็ไปถึงหูของทางรัฐบาล เมื่อทราบข่าวหายนะจากความเชื่อนี้ทางการก็ส่งคนมาที่เมืองซาเล็มและทำการดำเนินการไต่สวนเพื่อความยุติธรรมใหม่ทั้งหมด ซึ่ง
กว่ายืนยันความบริสุทธิ์ของคนในหมู่บ้านได้ ก็เมื่อในปี 1697 ซึ่งศาลแมสซาชูเซตส์เองได้ออกมายอมรับว่าคดีที่หมู่บ้านซาเรมมีการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม และแอนน์ พัตแนม หนึ่งในเด็กๆ ของหมู่บ้านซาเรมสารภาพว่าตนเองในวัยเด็กโกหกและใส่ความคนในหมู่บ้าน ในปี 1706 นั่นเอง
ซึ่งในที่สุดเมื่อปี 1711 รัฐบาลแมสซาชูเซตส์ก็ได้ผ่านกฎหมายคืนความบริสุทธิ์แก่คนในหมู่บ้านซาเรมจนหมดสิ้น และยกเลิกคำกล่าวหาที่ว่าผู้หญิงในหมู่บ้านเป็นแม่มดด้วยซึ่งได้ออกกฎหมายฉบับใหม่โดยสั่งให้คืนทรัพย์สมบัติที่ยึดมาจากผู้ตายและครอบครัวของผู้ตายให้หมด รวมไปถึงการจ่ายสินไหมทดแทนด้วย และนี่เป็นอันยุติคดีแม่มดในซาเล็มไปตลอดกาล ทว่า ความเสียหายจากความงมงายและการตัดสินคดีที่ไม่เป็นธรรมก็สร้างบาดแผลให้กับหมู่บ้านแห่งนี้ไม่มากก็น้อย
ข้อสันนิษฐานเหตุการที่เด็กๆล้มป่วยพร้อมๆกัน
ข้อสันนิษฐานที่1 เกิดจากเชื้อรากลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์ ซึ่งมักปนเปื้อนมาในธัญพืชที่เก็บไว้โดยเฉพาะข้าวไรย์ โดยเชื้อราชนิดนี้มักทำให้เกิดพิษหลอนประสาท ชักเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุกและเนื้อตาย
ข้อสันนิษฐานที่2 อาจเกิดจากทาสจาก ทิทูบา อินเดียน ที่มาจากแถบคาริบเบียนและรู้เรื่องลัทธิวูดูอาจเล่าเรื่องลึกลับให้เด็กๆฟัง เด็กๆที่มีความอ่อนไหวทางจิตได้ง่ายจึงเกิดคล้อยตามเรื่องเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการหวาดกลัว ขวัญหนีดีฝ่อ และท้ายสุดล้มป่วย
ข้อสันนิษฐานที่3 คือการเรียกร้องความสนใจ พวกเธออาจเรียกร้องความสนใจให้คนอื่นเชื่อว่ามีแม่มด เรื่องลึกลับมีอยู่จริง จนเกิดเรื่องปานปลายจนหยุดไม่ได้
ข้อสันนิษฐานที่3 อันนี้น่าจะเป็นคำอธิบายที่น่าเชื่อถือที่สุดในยุคปัจจุบัน เรื่องของเรื่องทั้งหมดเป็นผลประโยชน์ระหว่างผู้นำท้องถิ่น เจมส์ เบเลย์ กับซามูเอล แพร์ริล โดยผู้นำท้องถิ่นได้ใช้เรื่องนี้มาเป็นประโยชน์เพื่อส่งเสริมความนิยมที่นับวันเริ่มเสื่อมลงโดยทิทูบา อินเดียน ทาสจากหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนก็เป็นทาสของนายกรัฐมนตรีแพร์ริสเองด้วย ส่วนตัวต้นเหตุอลิซาเบธ แพร์ริส อบิเกล วิลเลียมส์ ก็เป็นลูกสาวและหลานสาวของเขาอีกนั่นแหละ และผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดทั้งหมดนั้นส่วนมากจะเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน เจมส์ เบเลย์ คู่แข่งของแพร์ริสอีกด้วย
เวลาล่วงผ่านมาหลายร้อยกว่าปี ทุกวันนี้เหตุการณ์ "แม่มดแห่งเมืองซาเล็ม" ยังคงเป็นเรื่องที่หลายๆคนรู้จักกันดี เรื่องราวของการกล่าวหาว่ามีการใช้เวทมนตร์คาถาในคดีแม่มดซาเล็มเป็นแรงดลบันดาลใจให้นักเขียนนิยายหลายๆคน ซึ่งจะสังเกตุเห็นได้จากชื่อสถานที่ เหตุการณ์ ชื่อตัวละคร ในหนังสือนิยาย ภาพยนตร์ หรือแม้กระทั้งงานศิลปะ
ปัจจุบันหมู่บ้านซาเล็มยังคงมีตัวตนอยู่และได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้ว มีสถานที่หลายแห่งที่เกี่ยวข้องและถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการล่าแม่มดให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์อันดำมืด เช่น อนุสรณ์ สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.1992 เนื่องในโอกาสครบรอบ300ปีเหตุการณ์ล่าแม่มดในซาเล็มซึ่งแต่ละแผ่นป้ายจะมีข้อความอุทิศให้เหยื่อของความอยุติธรรมนี้
ขอบคุณข้อมูลก่อนการเรียบเรียงจาก https://www.catdumb.com
ข้อสันนิษฐานที่1 เกิดจากเชื้อรากลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์ ซึ่งมักปนเปื้อนมาในธัญพืชที่เก็บไว้โดยเฉพาะข้าวไรย์ โดยเชื้อราชนิดนี้มักทำให้เกิดพิษหลอนประสาท ชักเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุกและเนื้อตาย
ข้อสันนิษฐานที่2 อาจเกิดจากทาสจาก ทิทูบา อินเดียน ที่มาจากแถบคาริบเบียนและรู้เรื่องลัทธิวูดูอาจเล่าเรื่องลึกลับให้เด็กๆฟัง เด็กๆที่มีความอ่อนไหวทางจิตได้ง่ายจึงเกิดคล้อยตามเรื่องเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการหวาดกลัว ขวัญหนีดีฝ่อ และท้ายสุดล้มป่วย
ข้อสันนิษฐานที่3 คือการเรียกร้องความสนใจ พวกเธออาจเรียกร้องความสนใจให้คนอื่นเชื่อว่ามีแม่มด เรื่องลึกลับมีอยู่จริง จนเกิดเรื่องปานปลายจนหยุดไม่ได้
ข้อสันนิษฐานที่3 อันนี้น่าจะเป็นคำอธิบายที่น่าเชื่อถือที่สุดในยุคปัจจุบัน เรื่องของเรื่องทั้งหมดเป็นผลประโยชน์ระหว่างผู้นำท้องถิ่น เจมส์ เบเลย์ กับซามูเอล แพร์ริล โดยผู้นำท้องถิ่นได้ใช้เรื่องนี้มาเป็นประโยชน์เพื่อส่งเสริมความนิยมที่นับวันเริ่มเสื่อมลงโดยทิทูบา อินเดียน ทาสจากหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนก็เป็นทาสของนายกรัฐมนตรีแพร์ริสเองด้วย ส่วนตัวต้นเหตุอลิซาเบธ แพร์ริส อบิเกล วิลเลียมส์ ก็เป็นลูกสาวและหลานสาวของเขาอีกนั่นแหละ และผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดทั้งหมดนั้นส่วนมากจะเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน เจมส์ เบเลย์ คู่แข่งของแพร์ริสอีกด้วย
เวลาล่วงผ่านมาหลายร้อยกว่าปี ทุกวันนี้เหตุการณ์ "แม่มดแห่งเมืองซาเล็ม" ยังคงเป็นเรื่องที่หลายๆคนรู้จักกันดี เรื่องราวของการกล่าวหาว่ามีการใช้เวทมนตร์คาถาในคดีแม่มดซาเล็มเป็นแรงดลบันดาลใจให้นักเขียนนิยายหลายๆคน ซึ่งจะสังเกตุเห็นได้จากชื่อสถานที่ เหตุการณ์ ชื่อตัวละคร ในหนังสือนิยาย ภาพยนตร์ หรือแม้กระทั้งงานศิลปะ
ปัจจุบันหมู่บ้านซาเล็มยังคงมีตัวตนอยู่และได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้ว มีสถานที่หลายแห่งที่เกี่ยวข้องและถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการล่าแม่มดให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์อันดำมืด เช่น อนุสรณ์ สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.1992 เนื่องในโอกาสครบรอบ300ปีเหตุการณ์ล่าแม่มดในซาเล็มซึ่งแต่ละแผ่นป้ายจะมีข้อความอุทิศให้เหยื่อของความอยุติธรรมนี้
ขอบคุณข้อมูลก่อนการเรียบเรียงจาก https://www.catdumb.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น