วิชาประวัติศาสตร์กับเกมเกลือๆ
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล สุภาพสตรีแห่งดวงประทีปผู้เป็นแสงสว่างกลางสนามรบที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย
กลับมาพบกับบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อีกเช่นเคย ครั้งนี้ผมมาเล่าเกี่ยวกับประวัติของเซอร์แวนท์คนหนึ่งซึ่งเธอมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เธอคนนั้นก็คือ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นั่นเอง
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เกิดเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2363 เป็นบุตรีของ เศรษฐีชาวอังกฤษ ชื่อ เอ็ดวาร์ด วิลเลียม ไนติงเกล และ ฟาร์นีย์ ไนติงเกล ผู้เป็นชาวชาวฝรั่งเศส แรงดลบันดาลใจที่จะช่วงเหลือผู้คนของเธอเริ่มด้วยจากการอธิษฐานตามธรรมเนียมปฏิบัติของคริสเตียน ปฏิญาณตนเองที่จะทำงานพยาบาล ความรู้สึกนี้แรงกล้า และเหนี่ยวรั้งเธอให้ปฏิเสธบทบาทการเป็นภรรยาและแม่ในเวลาต่อมาด้วย ซึ่งในอดีตนั้นอาชีพพยาบาลถูกรังเกียจว่าเป็นอาชีพชั้นต่ำของสังคมเพราะมักจะถูกมองว่าต้องอยู่กับความสกปรกและสิ่งน่ารังเกียจ ปฏิญาณอันแรงกล้านี้ทำให้พ่อแม่ของเธอทุกข์ใจอย่างหนัก แต่สุดท้ายก็ไม่อาจขัดขวางความมุ่งมั่นในการเป็นพยาบาลของเธอเอาไว้ได้
การทำงานของเธอเริ่มจากงานดูแลคนยากจนและคนอนาถา จนกระทั่ง เธอได้ทำงานอาชีพพยาบาลจริงๆเมื่อ พ.ศ. 2394 ที่ศิษยาภิบาลของไคเซอร์เวิทในเยอรมันนี จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2396 (1853) ไนติงเกล รับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันพยาบาลสำหรับสุภาพสตรีที่เจ็บป่วย ในถนนฮาร์ลีย์เหนือ ที่ลอนดอน
ในที่สุดชื่อของเธอก็ถูกรู้จักในฐานะ ดวงประทีปผู้เป็นแสงสว่างกลางสนามรบ เมื่อสงครามไครเมียเกิดขึ้น
ทุกคนคงทราบกันดีว่าสงครามนั้นมีแต่ความโหดร้าย ในเมื่อเป็นศัตรูก็จำเป็นต้องห้ำหันกันเท่านั้น มนุษย์ต่างปฎิบัติต่อกันและกันราวกับทำกับว่าฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่มนุษย์ การเข่นฆ่าในสนามรบนั้นเป็นเรื่องที่สยดสยองแล้ว แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือความตายที่มาจากโรคระบาดต่างหาก วันแล้ววันเล่าที่ทหารสู้รบกัน วันแล้ววันเล่าที่การรักษษพยาบาลทำอย่างขอไปที่ ในที่สุดจากหลักหน่วย ก็กลายเป็นหลักสิบ จากหลักสิบก็กลายเป็นหลักร้อย และไม่นานก็กลายเป็นหลักพัน
ในไม่นานสนามรบไครเมียก็เหมือนนรกดีๆนี่เอง ความตายเกิดขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะถูกฆ่าด้วยมือมนุษย์ด้วยกันเองหรือตายด้วยโรคระบาดก็ตามที วันแล้ววันเล่าที่มีคนเป็นโรคระบาดตาย และคนที่ตายไปนั้นการเป็นพาหะในการแพร่ระบาดโรคร้ายอื่นๆต่อไปยังพวกพ้อง ไม่แน่ว่าการตายด้วยมือของมนุษย์ด้วยมือมนุษย์ด้วยกันเองอาจจะถือว่าเป็นความกรุณาอย่างหนึ่งก็เป็นได้ เพราะผู้ป่วยที่ต้องตายเพราะโรคระบาดนั้นต้องทนทุกข์ทรมานยิ่งกว่า
ไนติงเกลได้รับรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการที่น่าหดหู่และขยะแขยงในการรักษาพยาบาลบาดแผลเหล่านี้ เธอตัดสินในทันทีที่จะละทิ้งชีวิตที่สุขสบาย เข้าสู่สนามรบในฐานะพยาบาล พร้อมกันนั้นก็ยังพาคณะนางพยาบาลอาสาสมัครหญิง 38 คนที่ได้รับการฝึกจากเธอไปด้วย เธอและผู้ร่วมอุดมการณ์เริ่มทำความสะอาดหน่วยพยาบาลและอุปกรณ์ทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน และจัดระบบการรักษาดูแลคนไข้เสียใหม่ แม้กระนั้นความตามตามของมนุษย์ก็ใช่ว่าจะหยุดกันได้ง่ายๆ ซึ่งในขณะนี้นั่นเองที่เธอได้ทำสถิติเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการตายของผู้ป่วย และเป็นเธอนั่นเองพัฒนาแผนภาพ "โพลาแอเรีย ไดอะแกรม" ที่แสดงข้อมูลการเสียชีวิตที่มาจากสภาพหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งเป็นการบุกเบิกด้าน สถิติศาสตร์ ทางการสาธารณสุข
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อุทิศชีวิตทั้งชีวิตในการช่วยกิจการของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั้งแต่ ค.ศ.1860 จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 90 ปี ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1910 ซึ่งพิธีฝังศพของเธอถูกจัดใน อารามเวสต์มินสเตอร์ โดยมีเฉพาะคนใกล้ชิดเท่านั้นที่เข้าไปร่วมพิธีนี้ ณ ปัจจุบันศพของเธอถูกฝังใน สุสานโบสถ์เซนต์มาร์กาเรตที่เวลโลว์ตะวันตก แฮมเชียร์
เรียบเรียงโดย แอดมินคนเดิม เพิ่มเติมคือยังไม่มีกาฉะให้หยอด
ขอบคุณข้อมูลก่อนการเรียบเรียง
Wiki และ www.gotoknow.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น